ReadyPlanet.com
dot dot


การเก็บพืชผลการเกษตร

 

เชื้อรา ตัวการก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารในระหว่างการเก็บรักษา

นอกจากเชื้อราจะก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารแล้วเชื้อรายังผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ราในกลุ่ม Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus ที่สร้างสารพิษที่เรียกว่า อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) และโอคราทอกซิน เอ (Ochratoxin A)

 ในประเทศไทยนอกจากพบการปนเปื้อนของสารพิษอะฟลาท็อกซินปริมาณสูงในถั่วลิสงแล้ว เรายังพบสารพิษอะฟลาท็อกซินปริมาณสูงในพริกแห้ง พริกป่น พริกไทย รวมทั้งเครื่องเทศแทบทุกชนิดในอาหาร โดนเฉพาะกาแฟคั่วบดที่คนไทยชื่นชอบพบว่าปนเปื้อนสารก่อมะเร็งโอคราทอกซิน เอ เกือบทั้งหมด ที่ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมคนไทยเป็นมะเร็งตับ อันดับต้นๆของโลก

 

 

 


คนไทยเป็นมะเร็งตายปีที่แล้วเกือบ 100,000 คนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี 

มาตรฐานการปนเปื้อนสารพิษ Aflatoxin B1 ในอาหารต้องไม่เกิน 5 ppb แต่ความเป็นจริงที่เราต้องซื้อกินจากตลาดมันเกินเป็น 10-40 เท่า


ผลิตและจำหน่ายพริกป่น พริกไทย ถั่วลิสงปลอดอะฟลาท็อกซิน(Aflatoxin)

และกาแฟปลอดออคราท็อกซิน เอ(Ochratoxin A) 

 


ผลทดสอบพริกป่นแสดงให้เห็นว่าสารพิษอะฟลาท็อกซินมีค่าเป็นศูนย์ทุกตัว

Download Test Report เพื่อใช้อ้างอิง (printable)


 

ผลทดสอบพริกไทย

Download Test Report เพื่อใช้อ้างอิง(printable)

 

 


 ถั่วลิสงปลอดอะฟลาท็อกซิน 

ยังไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ที่ค่าอะฟลาท็อกซินเป็นศูนย์ทุกตัว   

กินอร่อยปลอดภัยแล้วห่างไกลมะเร็ง 


 

ผลทดสอบถั่วลิสงหลังผ่านขบวนการทำแห้งค่าของอะฟลาท็อกซินเป็นศูนย์ทุกตัว 

Download Test Report เพื่อใช้อ้างอิง (Printable)


ผลทดสอบหาสารก่อมะเร็ง Ochratoxin A ในเมล็ดกาแฟ (Green coffee bean)

   

 

 


 

    

 
               ปัญหาการเก็บระยะยาวของพืชผลการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเป็นปัญหาที่สำคัญ อันเนื่องมาจากการเน่าเสียและการเกิดอะฟลาท็อกซิน ที่ถูกจัดอันดับเป็นสารก่อมะเร็งร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งในโลก แถมยังทนความร้อนได้สูงมาก การปรุงอาหารจึงไม่สามารถทำลายได้
 
                อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) คือสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา (mycotoxin) ซึ่งผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus ซึ่งเชื้อราสองชนิดนี้สร้างสารพิษในภาวะที่มีความชื้นสูง อะฟลาท็อกซินได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากการปรุงอาหารด้วยความร้อนธรรมดา เช่น การหุง นึ่ง ต้ม จะไม่สามารถทำลายพิษอะฟลาท็อกซินให้หมดไปได้ เพราะสารพิษนี้สามารถทนความร้อนไปสูงถึง 260 องศาเซลเซียส 

ตารางที่ 1 สถิติความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย %RH ของประเทศไทยในช่วงฤดูกาลต่างๆ
 
ภาค
ฤดูหนาว
ฤดูร้อน
ฤดูฝน
ตลอดปี
เหนือ
 ตะวันออกเฉียงเหนือ
 กลาง
 ตะวันออก
 ใต้ฝั่งตะวันออก
 ใต้ฝั่งตะวันตก
73
69
71
71
81
77
62
65
69
74
77
76
81
80
79
81
78
84
74
72
73
76
79
80
 
 จากตารางที่1 แสดงให้เห็นว่าภูมิอากาศของประเทศไทยทั่วทุกภาคเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นอย่างมาก       

นอกจากการลดความชื้นหลังการเก็บเกี่ยว(drying)แล้ว สำหรับในส่วนของการเก็บรักษาระยะยาว(storage)ของพืชผลการเกษตรหลังการลดความชื้นแล้วก็เป็นปัญหา ปัจจุบันของประเทศไทยยังไม่มีวิธีใดที่ดีและเหมาะสมเนื่องจากภูมิประเทศของประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นทำให้โอกาสที่จะเน่าเสียเนื่องจากเชื้อรามีสูง
 
 
ตัวอย่างการเน่าเสียของหอมแดงที่ต้องทิ้งปีละหลายพันตัน บางส่วนส่งเข้าโรงงานทำน้ำพริกที่แน่นอนว่ามีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินอยู่สูง ผลร้ายก็ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆ
 

อะฟลาท็อกซินเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก
 

สารพิษอะฟลาท็อกซินจากเชื้อราตัวการหลักที่ทำให้เป็นมะเร็ง มีคนอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่รับสารพิษอะฟลาท็อกซินที่ปนเปื้อนในอาหารประมาณ 5,000 ล้านคน แต่ก็มีคนหลายล้านบอกว่าไม่กินอาหารที่ปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซิน อย่างเช่นไม่กินพริกป่น (แต่ชีวิตก็ขาดรสชาติไป) และก็มีคนอีกหลายล้านคนที่บอกว่าไม่กลัวมะเร็ง(อันนี้มันเป็นวิทยาศาสตร์นะ ผีสางเทวดาไม่มีตัวตนดันกลัว) สุดท้ายแล้วเหลืออีกหลายล้านคนที่ฉลาดพอจะหาสินค้าที่ปลอดสารพิษอะฟลาท็อกซินเพื่อบริโภค (แล้วคุณอยู่กลุ่มไหน?)


อะฟลาท็อกซินร้ายแรงกว่าสารตกค้างด้านการเกษตรมากๆ

LD50 (Lethal Dose Fifty) ค่า LD50 เป็นค่าที่คำนวณขึ้นมาจากปริมาณของสารพิษ (dose) ที่คาดว่าจะทำให้สัตว์ทดลองตายไปครึ่งหนึ่งของประชากรที่ใช้ทดลองเมื่อได้รับสารนั้น สารตกค้างทางการเกษตรจะอยู่ระดับเป็นกรัมต่อน้ำหนักของหนูทดลองที่ทำให้หนูทดลองตาย แต่สารพิษอะฟลาท็อกซินจากเชื้อราจะอยู่ระดับเป็นไมโครกรัมที่ทำให้หนูทดลองตาย สารพิษอะฟลาท็อกซินจะมีความเป็นพิษจะรุนแรงกว่าสารตกค้างในพืชผลการเกษตรเป็น 1,000,000 เท่า แม้ว่าคนไม่ได้กินจำนวนมากพอจะทำให้ตายทันทีแต่ปริมาณสะสมที่กินเข้าไปทุกวันก็ทำให้เป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็ง ที่คนไทยตายเมื่อปีที่แล้ว 85,000 คนและเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาของอะฟลาท็อกซินเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกที่ยังไม่มีวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกัน แต่วันนี้มีเทคโนโลยีที่ทำได้แล้ว

 


บทความที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการนานาชาติของการกำจัดเชื้อรา Aspergillus flavus

 

Download ดูฉบับเต็ม APA 14-064.pdf

 


 

 สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ 085-8468135

ID Line:  smartguard99

 


ในกาแฟพบสารพิษ Ochratoxin A ที่มาจากเชื้อรา เป็นสารก่อมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่ร้ายแรงพอๆกับ Aflatoxin

 

 


 กลไกการเกินมะเร็งจากการรับสาร Ochartoxin A ที่ปนเปื้อนในกาแฟคั่วบด

  

 

 คำอธิบายว่าทำไมกาแฟคั่วบด(กาแฟสด)เกือบจะทั้งหมด ถึงพบว่าปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง Ochratoxin A ที่มาจากเชื้อรามีปริมาณสูงมาก สาเหตุหลักมาจากเชื้อราที่เกิดในระหว่างการเก็บรักษา เริ่มจากต้นกาแฟจะให้ผลผลิตปีละ 1 ครั้งราวเดือน พ.ย. ถึง ปลายเดือน ม.ค. เมื่อได้เก็บผลกาแฟที่สุกมาก็จะเอาเนื้อออกเหลือเป็นเมล็ดเอาไปตากแห้งเรียกว่า กาแฟกะลา ขั้นตอนที่สำคัญของการทำกาแฟคือจะต้องบ่มเมล็ดกาแฟอย่างน้อย 3-6 เดือนก่อนนำไปคั่วไม่เช่นนั้นกาแฟจะมีกลิ่นเหม็นเขียว ดังนั้นการเก็บรักษากาแฟกะลาในโกดังด้วยวิธีการเดิมๆจึงไม่มีทางที่จะเก็บกาแฟกะลาให้ปลอดจากเชื้อราได้เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นอย่างมาก ปัจจุบันกาแฟกะลาถูกเก็บในโกดังอย่างน้อย 1-2ปี เรียกว่าถ้าสุ่มตรวจโอกาสจะเจอสารก่อมะเร็งที่มาจากเชื้อราเกือบจะ 100% ขึ้นอยู่กับดวงใครดวงมัน แต่ที่สำคัญคนกินกาแฟจะต้องกินทุกวันโอกาสที่จะได้รับสารก่อมะเร็งสะสมในร่างกายถึงสูงมาก


ตัวอย่างติดตั้งเครื่องฯในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร

 

 


 

สมุนไพรแห้งพบว่ามีการปนเปื้อนสารพิษอะฟลาท็อกซินอยู่สูงมาก แทนทีจะกินเพื่อต้านมะเร็งกลับกลายเป็นว่ากินสารก่อมะเร็ง เคยรู้มาก่อนไหมครับ?

 







บทความที่บรรยายงานประชุมวิชาการประจำปีของ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ  paper 2016.pdf 

 

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.